เพื่อนๆที่ชื่นชอบประเทศญี่ปุ่น น่าจะพอทราบกันว่าประเทศนี้มีกฎระเบียบที่ต้องทำตามค่อนข้างเยอะ และการแยกขยะก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่มีรายละเอียดไม่น้อยและเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ก็เลยจะพามาทำความรู้จักและเข้าใจตัวอย่างวิธีการแยกขยะของคนญี่ปุ่นกันค่ะ
เริ่มต้นกันเลยดีกว่า เริ่มจากง่ายๆก่อนว่า จากป้ายบริเวณที่รถขยะจะมาเก็บขยะ หลักๆจะต้องแบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
(月曜日)วันจันทร์ เก็บขยะรีไซเคิล
資源(しげん):資源ゴミ=Recyclable waste
กระดาษ ขวดแก้ว กระป๋อง ผ้า หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
(月曜日)วันจันทร์ เก็บขยะอันตราย
危険(きけん)ขยะอันตราย
หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย ของมีคม
(火曜日)・(金曜日)วันอังคารกับวันศุกร์เก็บขยะที่เผาได้
焼却 (しょうきゃく)ขยะเผาได้ (燃えるゴミ)
ขยะเปียก (生ゴミ)革製品(かわせいひん)เครื่องหนัง VDO TAPE, CD
(水曜日)วันพุธ เก็บขยะที่เผาไม่ได้
不燃(ふねん)
陶磁器(とうじき)เซรามิค เครื่องดินเผา ガラス แก้ว
(ของอื่นๆ นอกจาก ขวดแก้ว กระป๋อง และขยะอันตราย)
แต่ในความเป็นจริงแล้วการแยกขยะมีรายละเอียดมากกว่านั้นมาก ไม่ใช่แค่แยกเป็น 4 ประเภทตามป้ายแล้วขยะจะถูกเก็บไป เพราะหากแยกขยะผิดจะมีป้ายแปะแจ้งไว้ด้วยว่ามีลูกบ้านในพื้นที่แยกขยะผิด ต้องเอากลับไปจัดการมาให้ถูกต้องถึงจะมาเก็บ ฉะนั้นเราต้องมาศึกษารายละเอียดการทิ้งขยะจากเวปไซต์เมืองที่อยู่เพิ่มเติมด้วยค่ะ
โดยตัวอย่างที่จะยกมาอธิบายวันนี้เป็นของเมือง Utsunomiya นะคะ
เมือง Utsunomiya จะแบ่งขยะออกเป็น 5 ประเภท แต่ต้องแยกทิ้งเป็น 13 อย่าง
ประเภทที่ 1 ขยะรีไซเคิลจะแบ่งเป็น 9 อย่าง
- หนังสือพิมพ์
- กล่องลัง
- นิตยสารและกระดาษอื่นๆ
- กล่องบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษ (ด้านในเป็นสีขาว)
- ผ้า
- ขวด กระป๋อง
- ขวด PET
- ถาดสีขาวล้วน
- พลาสติกทั้งหมดที่บรรจุภัณฑ์เขียนว่าเป็น “プラ”
ประเภทที่ 2 คือขยะเผาได้
ได้แก่ ขยะเศษอาหาร ชิ้นส่วนพลาสติก เศษกระดาษที่เอาไปรีไซเคิลไม่ได้ และกิ่งไม้
ประเภทที่ 3 ขยะเผาไม่ได้
เช่น เครื่องครัวขนาดเล็ก ร่มขนาดไม่เกิน 50 ซม. เครื่องเซรามิก เครื่องปั้นดินเผา กระจก แก้ว
ประเภทที่ 4 ขยะอันตราย
เช่น กระป๋องสเปรย์ ถ่าน ของมีคม หลอดไฟ
ประเภทที่ 5 ขยะชิ้นใหญ่ ขนาด 50-250 ซม. น้ำหนักน้อยกว่า 100 กก.
เช่น ตู้เสื้อผ้า จักรยาน สกี ฟูก สามารถนำส่งศูนย์เองได้ หรือถ้าจะให้มาเก็บจะมีค่าธรรมเนียม 840 เยน ต่อครั้งและครั้งละไม่เกิน 5 ชิ้น
ในกรณีที่พบการแยกขยะผิดจะมีติดแจ้งไว้ที่บริเวณทิ้งขยะว่าทำอะไรผิดและปรับปรุงอย่างไร
1. แยกขยะไม่ถูกต้อง เช่น เอาขวดแก้ว กระป๋อง ไปรวมกับขวดพลาสติกที่เป็น PET หรือขยะอันตราย ต้องเอาไปแยกใหม่ก่อนถึงจะมาเก็บ
2. มีของที่ไม่ให้ทิ้งบริเวณนี้ เช่น ขยะชิ้นใหญ่ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์โน้ตบุค
3. ถุงขยะมีขนาดใหญ่เกินที่จะสามารถเก็บไปได้ ให้ขนไปส่งที่ศูนย์จัดการขยะเอง
ดูเหมือนว่ามีรายละเอียดที่ต้องจำเยอะมากเลยใช่ไหมคะ แต่จริงๆแล้วถ้าสังเกตฉลากบนบรรจุภัณฑ์ในญี่ปุ่นจะมีบอกว่าบรรจุภัณฑ์นั้นๆทำมาจากอะไร ก็เหมือนกับบอกเราไปในตัวว่าเป็นขยะแบบไหน เลยตั้งใจทำตราสัญลักษณ์ที่พบบ่อยบนบรรจุภัณฑ์ญี่ปุ่นมาให้ดูเป็นทริคช่วยแยกขยะกันด้วยค่ะ
พอเข้าใจตราสัญลักษณ์แล้วการแยกขยะที่ญี่ปุ่นง่ายขึ้นมากเลยใช่ไหมคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะคะ